เคล็ดลับสู่ความมั่นคงทางการเงิน

เคล็ดลับสู่ความมั่นคงทางการเงิน

เคล็ดลับสู่ความมั่นคงทางการเงิน

นอกจากจะวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีรายละเอียด เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยพาคุณไปถึงเป้าหมายและก้าวไปสู่ “ความมั่นคงทาง การเงิน” ได้เร็วขึ้น …ลองดูว่า วิธีไหนเหมาะกับคุณ แล้วลงมือทำ
จัดสรรรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทจัดสรรรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท โดยดูว่าค่าใช้จ่ายจำเป็น ในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง จากนั้นแบ่ง รายได้ออกเป็นส่วน ๆ ส่วนหนึ่งกันไว้ เพื่อเป็นเงินออม ส่วนหนึ่งกันไว้สำหรับ ค่าใช้จ่ายเหล่านั้น หากรายรับไม่เพียงพอ สำหรับการใช้จ่ายและเก็บออม เห็นที คงต้องหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว เสียแล้วว่าจะลดรายจ่าย หรือมีวิธีเพิ่ม รายได้ตรงไหนได้บ้าง
จัดเก็บใบเสร็จ และจ่ายเงินให้ตรงกำหนด เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่ม โดยไม่จำเป็น โดยอาจจะจดไว้ที่ปฏิทิน หรือบันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือ ก็จะ ช่วยเตือนความจำได้
ออมเงินล่วงหน้าสำหรับรายจ่ายก้อนโต หากรู้ล่วงหน้าว่าเดือนใดจะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก เช่น ค่าเล่าเรียนลูก ค่าต่อเติมบ้าน ควรวางแผนเก็บเงินแต่เนิ่น ๆ  บริหารเงินออมอย่างมืออาชีพ การนำเงินออมที่มีอยู่มาบริหารจัดการให้งอกเงย มีหลายวิธี เช่น ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ ซื้อกองทุนรวม ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่า คุณต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจรูปแบบการออมนั้นให้ดีว่า ผลตอบแทนที่ได้รับคุ้มกับความเสี่ยงที่มีหรือไม่ รวมทั้งติดตามข่าวสารภาวะ เศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อการออมของคุณด้วย เช่น ในภาวะอัตรา ดอกเบี้ยขาขึ้น  บริหารหนี้อย่างชาญฉลาดอาจฝากประจำระยะสั้น ๆ หรือซื้อกองทุนรวม หรือพันธบัตร ที่มีระยะเวลาครบกำหนดสั้น ๆ เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อนำเงินไปฝาก หรือลงทุนต่อเมื่อครบอายุ หรือถ้าเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้นน่าจะสูงสุด แล้ว โดยหลังจากนี้อัตราดอกเบี้ยน่าจะต่ำลง อาจเลือกฝากประจำระยะยาว กว่า 1 ปี เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงไปตลอดระยะเวลาการฝาก เป็นต้น  บริหารหนี้อย่างชาญฉลาด การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเสมอไปหากรู้จักบริหารจัดการ และก่อหนี้ ที่มีประโยชน์ สินเชื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน ได้เร็วขึ้น เช่น กู้เพื่อซื้อบ้าน กู้เพื่อประกอบธุรกิจ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องประเมิน ความสามารถในการชำระคืนของตนเองด้วย โดยมีหลักคร่าว ๆ คือ ภาระในการ ชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้ทุกประเภทรวมกันในแต่ละเดือน ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน
หยุดวงจรหนี้ หากคุณมีหนี้สินเกินตัว เห็นทีต้องหยุดวงจรหนี้นั้นเสีย โดยการรัดเข็มขัด ประหยัดมากขึ้น และค่อย ๆ ทยอยผ่อนชำระจนหนี้นั้นหมด โดยเฉพาะหนี้ที่ต้อง จ่ายดอกเบี้ยสูง เช่น หนี้บัตรเครดิต (อัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี) หรือสินเชื่อ ส่วนบุคคล (อัตราดอกเบี้ย 28% ต่อปี) และไม่ควรก่อหนี้อื่นเพิ่ม ซึ่งหากคุณไม่แน่ใจ ว่าจะสามารถชำระคืนหนี้สินนั้นได้หรือไม่ ก็ควรหารือกับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออก ร่วมกัน มากกว่าจะคิดหนีหนี้
พร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน ควรมีเงินออมเผื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ที่ครอบคลุมรายจ่าย ประจำอย่างน้อย 6 เดือน แต่ถ้าเป็นช่วงเริ่มต้นก็ค่อย ๆ ทยอยเก็บสะสมเพิ่มไปเรื่อย ๆ ก็ได้ ยิ่งมีมากยิ่งดี ตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ว่าครอบคลุม แค่ไหน หากไม่เพียงพอควรทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม ก่อนตัดสินใจกู้ยืมเงินทุกครั้ง ควรนำประเด็นความไม่แน่นอน ของรายได้ในอนาคตมาประกอบการพิจารณาด้วย หากเป็นไปได้ ควรหาแหล่งรายได้เสริม เช่น ทำ งานพิเศษ ทำ งานล่วงเวลา หรือสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่มี เช่น การให้เช่าที่ดิน ดีกว่าปล่อยไว้เฉย ๆ
ข้อมูลจาก : หนังสือวางแผนการเงิน อย่างชาญฉลาด / ธนาคารแห่งประเทศไทย

คุณกำลังพลาด!!